พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นผู้วางรากฐานและก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยาขึ้นในปี พ.ศ. 2456 ในระยะแรก สาขานี้ไม่เป็นที่รู้จักและไม่เป็นที่ยอมรับในวงการประกอบโรคศิลปะเท่าที่ควร ด้วยความมุ่งมั่นที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่เพื่อยืนหยัดในวิถีทางที่ถูกต้อง ในการที่จะได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ต่อประเทศชาติ เภสัชกรจำนวน 64 ท่าน จึงได้ก่อตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม ขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2472 โดยมีสถานที่ตั้ง เป็นบ้านของท่านอาจารย์พระมนตรีพจนกิจ (ม.ร.ว. ชาย ชุมแสง) ซึ่งเป็นนายกเภสัชกรรมสมาคมคนแรก
ด้วยเจตนารมณ์ที่จะช่วยคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนมิให้ถูกหลอกหลวง หรือแอบอ้างจากผู้ที่มิได้ร่ำเรียนมา เภสัชกรรมสมาคมฯ จึงได้พบปะชี้แจงนักการเมืองให้เข้าใจวิชาชีพเภสัชกรรม และให้มีการควบคุมการขายยา โดยเภสัชกรและควบคุมการโฆษณายา รัฐบาลจึงได้ตรา พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ 2479 และ พ.ร.บ. ควบคุมการขายยา 2479 ซึ่งต่อมาเภสัชกรรมสมาคมฯ ได้เสนอให้มีการแก้ไขเป็น พ.ร.บ. ยา 2510 และ พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรม 2537
ทางด้านการศึกษา ในปี 2482 เภสัชกรรมสมาคมฯ ได้เสนอแนวคิดในการปรับปรุงการศึกษา เภสัชกรรมศาสตร์ไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียังผลให้มีการแยกแผนกเภสัชกรรมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกเป็นแผนกอิสระและยกฐานะการศึกษาถึงขั้นปริญญาบัณฑิต ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย" และได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2491
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย" และได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2491
ด้วยเจตนารมณ์ที่จะช่วยคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนมิให้ถูกหลอกหลวง หรือแอบอ้างจากผู้ที่มิได้ร่ำเรียนมา เภสัชกรรมสมาคมฯ จึงได้พบปะชี้แจงนักการเมืองให้เข้าใจวิชาชีพเภสัชกรรม และให้มีการควบคุมการขายยา โดยเภสัชกรและควบคุมการโฆษณายา รัฐบาลจึงได้ตรา พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ 2479 และ พ.ร.บ. ควบคุมการขายยา 2479 ซึ่งต่อมาเภสัชกรรมสมาคมฯ ได้เสนอให้มีการแก้ไขเป็น พ.ร.บ. ยา 2510 และ พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรม 2537
ทางด้านการศึกษา ในปี 2482 เภสัชกรรมสมาคมฯ ได้เสนอแนวคิดในการปรับปรุงการศึกษา เภสัชกรรมศาสตร์ไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียังผลให้มีการแยกแผนกเภสัชกรรมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกเป็นแผนกอิสระและยกฐานะการศึกษาถึงขั้นปริญญาบัณฑิต ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย" และได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2491
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย" และได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2491


สถานที่ตั้งของเภสัชกรรมสมาคมฯ มีการโยกย้ายไปหลายที่ จากถนนตรีเพชร ไปกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงเศรษฐการ คณะเภสัชศาสตร์ บ้านศาลาแดง จนในที่สุดได้จัดหาทุนทรัพย์เพื่อซื้อที่ดิน 502 ตารางวา และสร้างอาคารทันสมัย 3 ชั้น ณ บ้านเลขที่ 40 ถนนสุขุมวิท 38 เป็นอาคารเภสัชกรรมสมาคมฯ ซึ่งเป็นที่ทำการปัจจุบัน
สำนักงานเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ 40 ซอยสุขุมวิท 38 ถนนสุขุมวิท แขวงพรโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร.0-2712-1627-8 , 0-2391-6243, โทรสาร 0-2390-1987 E-mail : [email protected]



